วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติการนวดเเผนโบราณ


การนวดเเผนโบราณ เป็นทั้งศาสตร์เเละศิลป์ที่มีมาตั้งเเต่โบราณกาล เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณเบื้องต้นของการอยู่รอดเมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วย ตนเองหรือผู้อยู่ไกล้เีคียงมักจะลูบไล้บีบนวดบริเวณดังกล่าว ทำให้อาการปวดเมื่อยคลายลง ที่เเรกก็เป็นไปโดยมิได้ตั้งใจ ต่อมาเริ่มสังเกตุเห็นผลของการบีบนวดในบางจุดหรือบางวิธีที่ได้ผล จึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์เเละกลายเป็นความรู้ที่สืบทอดกันต่อๆมาหลายคน จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งความรู้ที่ได้จึงสะสมจากลักษณะง่ายๆ ไปสู่ความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น กระทั่งสามารถสร้างขึ้นเป็นทฤษฏี การนวดจึงกลายมาเป็นศาสตร์เเขนงหนึ่งที่มีบทบาทบำบัดรักษาอาการหรือโรคภัยบางอย่าง
เชื่อกันว่า รากฐานของการนวดเเผนโบราณจากประเทศอินเดีย โดยหมอชีวกโกมารภัจจ์ เเพทย์ประจำราชวงศ์สักยะ เเละเเพทย์ประจำองคืพระพุทธเจ้าเป้นผู้ริเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาล ได้เเพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานเเน่ชัด พบว่ามีกกการนวดกันเฉพาะในรั้วในวัง ดดยจะนวดเเต่พระเจ้าเเผ่นดินหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ต่อมาภายหลังจึงเริ่มกระจายสู่บุคคลทั่วไป จากการที่ผู้นวดดังกล่าว เเล้วอายุมากขึ้นเกษียณราชการกลับไปอยู่บ้าน เเล้วถ่ายทอดวิชาให้ลูกหลาน ให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง สืบต่อกันมา
การนวดเป็นที่รู้จักกันอย่างเเพร่หลายในเเผ่นดินสมัยอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2300 ได้เริ่มมีการเขียนตำราเกี่ยวกับการนวดไว้ในใบลานโดยจารึกไว้เป็นภาษาบาลี ในปี พ.ศ.2310 กรุงศรีอยธยาถูกพม่าเผาจนเสียหายอย่างหนัก ตำราเกี่ยวกับการนวดเหล่านี้ก็พลอยสูญหายไปด้วย(ถูกเผา)คงเหลือเล็กน้อยบางส่วน จึงได้มีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการนวดเเผนโบราณอย่างเป้นทางการ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้มีการจารึกตำรายา เเละตำราฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย
ในสมัยรัชกาลที่3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้มีการรวบรวมเเละสลักไว้บนผนังที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)ตำราในส่วนนี้เองที่เป็นรากฐานของการนวดเเผนโบราณในปัจจุบัน
ในจดหมายเหตุของลาลูเเบร์กล่าวไว้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ใช้ชำระคัมภีร์เเพทย์ทั้งมวลให้เป็นที่ถูกต้องเเละจดบันทึกไว้ในสมุดข่อยเก็บไว้ ในครั้งนั้นกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ร่วมกับ กรมหมื่นอักษรสาสน์โสภณ เเละหลวงสารประเสริฐได้ชำระตำราเเผนนวดไว้ด้วยได้เป็น "ตำราเเผนนวดฉบับหลวง"นอกจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นยังมีการสอนวิชาหมอนวดให้กับนักเรียนเเพทย์ชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนราชเเพทยาลัยเเห่งเเรกของประเทศไทยด้วย เเต่ภายหลังเลิกสอนไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เเละพระบาทสมเด็จพระมากุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ผู้ที่มีชื่อเสียงมากในการนวดในขณะนั้นคือหมออินเทวดา ซึ่งเป็นหมอนวดในราชสำนัก ได้ถ่ายทอดวิชานวดทั้งหมดให้เเก่บุตรชายคือ หมอชิต เดชพันธ์ ซึ่งต่อมา ได่ถ่ายทอดความรู้ให้เเก่ลูกศิษย์ ความรู้เกี่ยวกับการนวดเเผนโบราณนั้นเริ่มเเพร่หลายเเละเปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อประมาณ30-40 ปีมานี้
ในปี พ.ศ.2475 ได้มีการริเริ่มตั้งสถานที่ขึ้นเพื่อเผยเเพร่ความรู้ในด้านการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร เเละการนวดขึ้นเป็นครั้งเเรก ในครั้งนั้นมีผู้สนใจไม่มากนัก ต่อมาก็มีผู้สนใจมาเรียนการนวดกันมากขึ้น จนได้มีการจัดตั้งสมาคมเเพทย์เเผนโบราณเเห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งเเรกในประเทศไทย โดยมีอาจารย์ใหญ่ สีตวาทิน เป็นนายกสมาคมคนเเรก เเละเป็นผู้ถ่ายทอดวิชานวดในครั้งนั้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น