วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคประจำตัว อิทธพลของวันผู้ถือกำเนิด

ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ คือ ระบบหมุนเวียนของกระเเสโลหิต โรคหัวใจ ระบบประสาท สมองส่วนบนที่เกี่ยวกับตา จึงให้เอาใจใส่ เเละระวังสุขภาพในส่วนดังกล่าว บั้นปลายของชีวิตควรทำจิตใจ ให้สงบอย่า ฟุ้งซ่าน อย่าใจร้อน จะทำให้เกิดอาการเครียดโรคหัวใจจะกำเริบ บำเพ็ญสิ่งที่เป็นบุญกุศลจะทำให้จิตใจเเละชีวิตร่มเย็น

ผู้ที่เกิดวันจันทร์
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันจันทร์ คือ โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ ระบบ เลือดลม หากเป็นสตรีเกี่ยวกับระบบมดลูกภายใน ต้องรักษาสุขภาพทางด้านนี้ให้ดี เเละระวังการรับประทานอาหาร ให้ถูกสุขลักษณะ ตรงเวลา ในบั้นปลายชีวิต ควรระวังโรคหัวใจ ระบบการหายใจ ควรฝึกทำสมาธิให้มากกว่า การเเสวงหาความสุขในด้านอื่นๆ

ผู้ที่เกิดวันอังคาร
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันอังคาร คือ มักเจ็บป่วยบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น เป็นโรคปวดเมื่อย ระบม อาจเป็นโรคเกี่ยวกับเยื่อโพรงจมูกอักเสบ อาจได้รับภัยจากความร้อน เช่น อัคคีภัย จึงต้องระวัง รักษาตัวในเรื่องนี่ไว้เป็นพิเศษ ด้วยความไม่ประมาท บั้นปลายของชีวิต ควรหาทางสงบสติอารมณ์ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นให้มาก การเข้าวัดทำบุญ ถือศีล ฟังธรรม อ่านข้อความที่ชำระจิตใจ ให้ผ่องใสเป้นทางต่ออายุ ยืนยาวได้นาน ให้ระวังโรคลม ในกระเพาะ ลำไส้ จะก่ออันตรายเเก่ชีวิตได้

ผู้ที่เกิดวันพุธ
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันพุธ คือ อยู่ที่มือ เช่นระบบหายใจ หัวใจอ่อน ระบบประสาทสมอง ควรออกกำลังการเป็นประจำ ให้ระวังสุขภาพในส่วนนี้

ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี คือ จุดที่จะทำให้เกิดการเจ็บไข้ ได้ป่วย เนื่องจากระบบดูดย่อย ของอาหาร ตับ การเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้มากที่สุดกว่าโรคอื่น ได้เเก่ ไขข้ออักเสบ ช้ำบวมตามกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระเพาะปัสสาวะ ช่องปัสสาวะ หากเป็นสัตรี เกี่ยวข้องกับช่องคลอด พึงหมั่นออกกำลังบริหารร่างกาย ให้เเพทย์ตรวจร่างการในส่วนนี้เสมอ

ผู้ที่เกิดวันศุกร์
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันศุกร์ คือ ความเจ็บไข้ส่วนมาก จะเกี่ยวกับระบบ เลือดลม เจ็บป่วยในลำคอ กระเพาะลำไส้ หากเป็นสัตรีเกี่ยวกับรังไข่ มดลูก ระบบไต ควรกินยาสมุนไพร ล้างไตเป็นประจำ ชีวิตในบั้นปลาย ควรระวังระบบประสาทสมองส่วนบนเสื่อม เลอะเลือน โรคลมเบื้องบนต่ำ ลมในกระเพาะ หมั่นทำการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ระบบ หัวใจ ระบบเลือด ระบบประสาท ดี ต้องงดของมึนเมา เเละบุหรี่

ผู้ที่เกิดวันเสาร์
สุขภาพเเละโรคประจำตัว - จุดอ่อนของผู้ที่เกิดวันเสาร์ คือ กระดูก ม้าม สะบ้า หัวเข่า โรคเกี่ยวกับหู เยื่อโพรงจมูกอักเสบ วัณโรค คือโรคปอดบวม ตามไขข้ออัมพาต ควรออกกำลังการสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ไขข้อเเข็งเเรงอยู่เสมอ ชีวิตในบั้นปลาย อยู่ดีๆพาลเป็นลมหน้ามืด ช็อคตายไปเลย หรืออาจมีโรคภัยเเทรกเเซง ทำให้ร่างกายมีเเต่ความเจ็บ ความทุกข์เป็นเวลายาวนาน ควรตั้งใจทำบุญ รู้จักเสียสละอย่าคดโกงมาเพื่อทำบุญ จงทำตัวเองเป็นผู้เสียสละเเละบริสุุทธิ์เพื่อความสบายใจในปัจจุบันชาติ เพื่อเป็นกุศลในภพภูมิเบื้องหน้า

อิทธิพลของวัน-ปีเกิด ส่งผลสู่มนุษย์ผู้ถือกำเนิดเเละโรคประจำตัว

โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ในเเต่ละปี ทำให้เกิดลักษณะของราศีต่างๆขึ้นมา 12 ราศีคือ
1.ราษีเมษ-ธาตุไฟ มีลักษณะ ม้า
2.ราศีพฤษภ-ธาตุดิน มีลักษณะ วัว
3.ราศีเมถุน-ธาตุลม มีลักษณะ คนคู่กัน
4.ราศีกรกฏ-ธาตุน้ำ มีลักษณะ ปู
5.ราศีสิงห์-ธาตุดิน มีลักษณะ สิงหราช
6.ราศีกันย์-ธาตุดิน มีลักษณะ ผู้หญิง
7.ราศีตุลย์-ธาตุลม มีลักษณะ ตาชั่ง
8.ราศีพิจิก-ธาตุไฟ มีลักษณะ เเมงป่อง
9.ราศีธนู-ธาตุไฟ-มีลักษณะ คนถือธนูในท่ายิง
10.ราศีมังกร-ธาตุดิน มีลักษณะ เเพะ
11.ราศีกุมภ์-ธาตุลม มีลักษณะ คนกับหม้อ
12.ราศีมีน-ธาตุน้ำ มีลักษณะ ปลาคู่

ในเเต่ละราศีมีจันทรคติ คือชุณหปักษ์ คือซีกโลกสว่างเเละกาฬปักษ์ คือซีกโลกมืด โลกหมุนเอียงทำมุม 45 องศา การเอียงไปในทางเหนือเเละทางใต้ตามเเรงโน้มถ่วงของเเม่เหล็กโลก ทำให้เกิดฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ในเเถบที่ลุ่มของเอเชียส่วนในถิ่นทะเลทราย ฤดูฝนกับฤดูหนาวจะมาพร้อมกัน นอกนั้นร้อนตลอด 9 เดือนของ 1 ปี ฉะนั้น จิตใจของมนุษย์ในเเต่ละภาคพื้นของโลกจึงเเตกต่างกัน มีศาสนาเเละความเชื่อเเตกต่างกัน เเต่ศาสดาทุกพระองค์สอนให้มนุษย์ทั่วทั้งโลก เป็นพี่น้องกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันเเละกัน

อำนาจเเละอิทธพลของเเต่ละวัน มีลักษณะของธาตุทั้ง 4 คือ
ธาตุดิน - ดินคือโลกของเรา ดินเพื่อการเกษตร ดินเหนียวทำก้อนอิฐ ดินผสมโลหะ ดินคือ ร่างกายมนุษย์ฯ อวัยวะ 20 อย่างคือ เส้นผม ขน เล็บ ฟัน ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก (ไขกระดูก) ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด กระเพาะและลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก อาหารใหม่ (อาหารที่อยู่ในกระเพาะและลำไส้เล็ก) อาหารเก่า (อาหารที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ตอนล่างและตกไปทวารหนัก) มันในสมอง
ธาตุน้ำ - หมายถึงน้ำในร่างกาย 12 อย่างคือ น้ำดี น้ำเสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น (เป็นเนื้อมันสีขาวออกเหลืองอ่อนในร่างกาย) น้ำตา มันเหลว (น้ำเหลือง) น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ (น้ำมันที่อยู่ในข้อทั่วไป) น้ำปัสสาวะ
ธาตุลม - ลมหายใจ ลมมรสุม ลมเเห่งจักรวาล ลมเสีย ลมดีฯ มีอยู่ 6 อย่างในร่างกายคือ เรอ ผายลม ลมที่พัดอยู่ในท้องแต่นอกลำไส้ ลมที่พัดในลำไส้และในกระเพาะ การไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ลมหายใจเข้าออก
ธาตุไฟ - ไฟในจิตใจทำให้เกิดความกระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียร ไฟราคะ เปลวไฟฯ มีอยู่ 4 อย่างคือ ไฟสำหรับอุ่นกายซึ่งทำให้ตัวเราอุ่นเป็นปกติ ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสายซึ่งทำให้เราต้องอาบน้ำและพัดวี ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่าซึ่งทำให้ร่างกายเราเหี่ยวแห้งทรุดโทรมทุพพลภาพไป และไฟสำหรับย่อยอาหารซึ่งทำให้อาหารที่เรากลืนลงไปนั้นให้แหลกละเอียดไป

ดังนั้น ธาตุทั้ง 4 ก็หมายถึงร่างกายของเรานั่นเอง การมีสุขภาพดีก็ต้องรักษาธาตุทั้ง 4 ให้เป็นปกติ

โรคทางหัตถเวช(นวดเเบบราชสำนัก)เเละโรคที่สามารถใช้การนวดรักษาได้

1.อัมพาตหน้า 5 ชนิด เช่น ตาหลับไม่ลง ยักคิ้วไม่ได้ ปากเบี้ยว
2.ขากรรไกรค้าง เช่น หุบปากไม่ลง คางห้อยลง
3.ขากรรไกรอักเสบ
4.หูอื้อ ลมออกหู มีเสียงดังในหู
5.ลมตะกัง
6.กระดูก ส 4 เเละ ส 5 หลัง ลมปลายปัตฆาตบ่า
7.โรคตกหมอน
8.คอเอียงในเด็กเล็ก
9.หัวไหล่ติด หัวไหล่อักเสบ ชูเเขนไม่ได้ เท้าเเขนไม่ได้
10.หัวไหล่เคลื่อน เบี่ยง จากอุบัติเหตุ
11.ลมปลายปัตฆาตข้อศอก
12.ข้อศอกเคลื่อน
13.ข้อมือเคลื่อน
14.ก้อนปมหลังมือ
15.สันนิบาตมือตก
16.ลำบองข้อมือด้านนิ้วโป้ง
17.ลมปลายปัตฆาตข้อมือ
18.นิ้วไกปืน
19.นิ้วมือซ้น
20.ลมปลายปัตฆาต ส 1 เเละ ส 3 หลัง
21.กระดูกสันหลังคด เเอ่น
22.กระดูกสันหลัง งอ ค่อม
23.ลำบองข้อกระดูกสันหลัง
24.ยอกหลัง
25.ขัดสะโพก
26.ข้อสะโพกเคลื่อน
27.จับโป่งเข่า
28.เข่าเบี่ยง
29.สะบ้าบิ่น ลูกสะบ้าเคลื่อน
30.จับโป่งข้อเท้า การบวมข้อเท้า
31.ข้อเท้าเเพลง
32.ลมปลายปัตฆาตส้นเท้า เอ็นบริเวณส้นเท้าอักเสบ
33.ข้อนิ้วเท้าส้น
34.สันนิบาตข้อเท้าตก
35.อัมพาต 5 ชนิด อัมพาตครึ่งซีก ครึ่งท่อน เเขน ขา ทั่วตัว
36.ดานลม เช่น ท้องผูก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อุจจาระเเข็ง ชามือเท้า
37.ดานเลือด มีเลือดคั่งค้างในโพรงมดลูก
38.กระดูกเเขน ขา หัก
39.กล้ามเนื้ออักเสบ จากการกีฬา
40.มดลูกเคลื่อน 3 ชนิด 1 มดลูกตะเเคง 2 มดลูกคว่ำ 3 มดลูกลอย

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคที่พบบ่อย ตามส่วนต่างๆของร่างกาย

โรคที่ที่พบบ่อย โรคของขา เเละ ของเท้าที่พบบ่อย

1.ปวดสะโพกร้าวลงขา เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นประสาทที่เอวหรือสะโพก เอ็นต้นขาด้านข้างตึงอักเสบ
2.ปวดเข่าเกิดจาก ข้อเข่าเสื่อมอักเสบ เอ็นสะบ้าอักเสบ เอ็นไขว้ยึดหรือขาด ถุงลื่นอักเสบ สะบ้าอ่อน
3.ปวดน่อง เกิดจากตะคริว กล้ามเนื้อน่องอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ
4.ปวดข้อเท้า เกิดจาก ข้อเท้าเเพลง เอ็นร้อยหวายอักเสบ กระดูกข้อเท้าเสื่อม อักเสบ โรคเก๊าท์
5.ปวดเท้า เกิดจากเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ไขมันรองส้นช้ำ กล้ามเนื้อเมื่อยล้า กระดูกงอ เอ็นร้อยหวายตึงอักเสบ

โรคที่พบบ่อยโรคของเเขน เเละมือ ที่พบบ่อย

1.กระดูกเสื่อมอักเสบ อาการ ปวดตื้นที่คอ ตึงไหล่ เเละสะบัก อาการเเสดง ก้มเงยไม่สุด มีเสียงกระดูกเคลื่อนไหวที่คอ อาจมีอาการชาร้างลงที่เเขนเมื่อยเงยคอจนสุด
2.ข้อไหล่ติด อาการ ปวดไหล่ ยกเเขนขึ้นไม่สุด อาการเเสดง ปวดเมื่อ ยกเเขนสูง ปวดตอนกลางคืน มือไขว้หลังไม่ได้
3.ข้อศอกอักเสบ อาการ ปวดที่ด้านข้างของข้อศอก อาการเเสดง กดเจ็บที่ศอก ปวดข้อศอกเมื่อกำหมัด
4.นิ้วไกปืน อาการ ปวดที่นิ้วมือ กำเข้าได้ เเต่เหยียดไม่ออก อาการเเสดง กดเจ็บที่โคนนิ้ว กำนิ้วได้ เเต่เเบ ไม่ออก
5.เอ็นรัดประสาทมืออักเสบ อาการ ชา เเละ อ่อนเเรงที่ปลายนิ้ว อาการเเสดง เนินฝ่ามือเล็กลง กล้ามเนื้ออ่อนเเรง กดเจ็บที่ข้อมือ ปวดฝ่ามือ
6.เอ็นข้อมืออักเสบ อาการ ปวดที่ข้อมือโคนนิ้วโป้ง อาการเเสดง กำนิ้วโป้งเเล้วเจ็บ

โรคที่พบบ่อยโรคของศีรษะ เเละ คอ

1.ปวดศีรษะเครียด อาการ ปวดศีรษะ ตุบๆ ตาลาย อาการเเสดง คอตึง ไหล่ตึง กดเจ็บที่คอ
2.คอตกหมอน อาการ ปวดคอหันคอไม่ได้ อาการเเสดง หันคอไม่สุด คอตึงเจ็บ
3.กระดูกคอเสื่อมอักเสบ อาการเเสดง ปวดที่คอ ไหล่ตึงสะบัก อาการเเสดง ก้มเงยไม่ได้ กดเจ็บที่คอ ไหล่ หลัง
4.ข้อไหล่ติด อาการ ปวดไหล่ยกเเขนไม่ขึ้น อาการเเสดง ยกเเขนเเล้วเจ็บ มือไขว้หลังเเล้วเจ็บ
5.อัมพาตใบหน้า อาการ ปากเบี้ยว อาการเเสดง หน้าไม่มีเเรงข้างหนึ่ง หลับตาไม่สนิท อมน้ำไม่ได้
6.โพรงจมูกอักเสบ อาการ ปวดบริเวณที่โหนกเเก้ม เเละ หัวคิ้ว อาการเเสดง กดเจ็บที่โหนกเเก้ม

โรคที่พบบ่อยโรคของท้องเเละอก

1.กล้ามเนื้ออกอักเสบ อาการเจ็บเสียวที่อก อาการเเสดง กดเจ็บที่อก ไหล่ห่อ
2.กล้ามเนื้อท้องตึง อาการเเสดง หลังงอ ท้องเเข็งเกร็ง ปวดท้อง อก เเละ หัวเหน่า
3.กระดูกอ่อนอก อักเสบ อาการ เจ็บเสียวกลางหน้าอก อาการเเสดง กดเจ็บรอยต่อซี่โครงหน้าอก หายใจเสียว

โรคที่พบบ่อบโรคของหลัง

1.กล้ามเนื้ออักเสบ อาการเเสดง ก้มเงยไม่ได้ หลังเเข็ง กดเจ็บ ร้าวไปที่เอว เเละสะโพก
2.โรคข้อสันหลังเสื่อม อาการเเสดง นั่งนานไม่ได้ หลังเเข้งเดินไม่ไกล
3.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการ ปวดเอวร้าวลงขา ก้าวขาไม่ไกล อาการเเสดง เดินกระเพลก หลังเเข็ง ปวดชาลงปลายเท้า ขาอ่อนเเรง กล้ามเนื้อลีบ เเละ เหลว

กายวิภาคศาสตร์เเบบการเเพทย์ทางเลือก

ในร่างกายของเรามีอยู่ทั้งหมด 9 ระบบ เเต่นวดเเผนไทยมีผลกับ 6 ระบบ ที่หมอนวดเเผนไทยพึงรู้
1.ระบบผิวหนัง ประกอบไปด้วย หนังกำพร้า หนังเเท้ เอ็น ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ เเละขน ทำหน้าที่คือ ห่อหุ้มร่างกาย ป้องกันเชื้อโรค ขับเหงื่อ เเละขับไขมันมาหล่อเลี้ยงผิว เเละยังรักษาอุณภูมิของร่างกายเเละรับรู้สัมผัสต่างๆ การนวด มีผลทำให้เลือดที่ผิวหนังไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้อุณภูมิเพิ่มขึ้น ขับเหงื่อเเละไขมันได้ดีขึ้น ทำให้ผิวหนังเต่งตึงขึ้น เเต่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง ก็อาจทำให้ติดผู้นวดได้ด้วย
2.ระบบกระดูกเเละกล้ามเนื้อ ประกอบไปด้วย กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เอ็นเเละกระดูกอ่อน ทำหน้าที่ ให้มีรูปร่างทำให้เคลื่อนไหว ป้องกันอวัยวะภายใน สร้างเม็ดเลือด สะสมเเร่ธาตุเเละเเคลเซียม การนวดจะเกี่ยวข้องกับระบบนี้มากที่สุด เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น
3.ระบบไหลเวียนเลือดเเละน้ำเหลือง เลือดทำหน้าที่ ลำเลียงเลือดเเละก๊าซออกซิเจน กับสารอาหารต่างๆไปสู่เซลล์ เเลกเปลี่ยน ของเสีย อันเกิดจากการทำงานของเซลล์ น้ำเหลืองทำหน้าที่ช่วยเสริมการไหลเวียนของเลือดดำ ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกายไม่ให้เเพร่กระจาย โดยการกรองไปไว้ที่ต่อมน้ำเหลือง เเละสร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยปล่อยไปตามกระเเสเลือด การนวด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เเละขับถ่ายของเสียจากเซลล์สู่ระบบเลือดดำเเละปัสสาวะดีขึ้นเเละสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ของน้ำเหลืองดีขึ้น โดยปล่อยไปตามกระเเสเลือด
4.ระบบหายใจ ทำหน้าที่นำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ปอด เพื่อไปเลี้ยงร่างกาย การนวด ไม่ค่อยมีผลโดยตรงกับระบบนี้เท่าใดนัก
5.ระบบประสาท ทำหน้าที่ควบคุมสั่งงาน เเละรับรู้การทำงานทุกอย่างของร่างกาย การนวด มีผลทำให้รู้สึกผ่อนคลายทั้งระบบประสาทเเละกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เเต่ถ้านวดรุนเเรงเกินไปก็จะทำให้ระบบประสาทช้ำถึงขั้นเป็นอัมพาตได้
6.ระบบย่อยอาหาร ทำหน้าที่หลัก 3 ประการคือ 1.บดเเละกลืนอาหาร 2.ย่อยอาหาร 3.ขับถ่ายกากอาหาร เพื่อทำให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้ การนวด มีผลกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ อยากรับประทานอาหาร ย่อยอาหารเเละขับถ่ายได้ดีขึ้น

ระยะโรคเฉียบพลัน คือ เป็นมา 2-3 วัน
ระยะโรคเรื้อรัง คือเป็นมา 6 เดือน
อุณภูมิค่าปรกติ 36.2-37.6 องศาเซลเซียส ถ้าน้อยกว่า 35 หรือมากกว่า43 องศาเซลเซียส ตายได้ ในการวัดอุณภูมิเราวัดได้ 3 ทาง 1.ทางปาก 2-3 นาที 2.ทางรักเเร้ 5 นาที 3.ทวาร 1-2 นาที
อัตราการหายใจ เข้า-ออก นับ 1 ครั้ง ค่าปรกติ 12-20 ครั้งต่อนาที