วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้ในการค้นหาต้นเหตุของโรค

นอกจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์เเล้ว ผู้นวดต้องมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหาสาเหตุของโรค ซึ่งสามารถได้ข้อมูล จากวิธีการต่อไปนี้
1.1 การซักประวัติ -ต้องถามผู้ถูกนวดในเรื่องต่างๆ เพื่อนำมาคิดพิจารณา ว่าผู้ถูกนวดเป็นโรคอะไร ดังนี้
อาการสำัคัญ คือ อาการที่นำผู้ถูกนวด มาหาผู้นวด หรืออาการที่ก่อให้เกิดความรำคาญอย่างมาก เเก่ผู้ถูกนวด เช่นเจ็บไหล่ขวา เวลายกเเขน หรือยกเเขนไม่ได้นั้น มีความเจ็บปวดลักษณะอย่างไร เป็นมานานเพียงใด ทำท่าไหนปวดมากที่สุด ท่าไหนปวดน้อยที่สุด เคลื่อนไหวท่าใด ได้หรือไม่ได้ เพราะปวดไหล่ติด หรือ เพราะไม่มีเเรง
1.2 ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับอาการสำคัญ ต้องทราบถึงลักษณะการเริ่มเจ็บป่วย(คือเป็นทันที หรือค่อยเป็นค่อยไป) อะไรเป็นสาเหตุ (เช่นอุบัติเหตุ ยกของผิดท่า ยกของหนักเกินไป เป็นต้น) ความรุนเเรง(อยู่ในระดับมากหรือน้อย) เคยมีอาการอักเสบ (ปวด บวม เเดง ร้อน) บริเวณนั้น หรือ บริเวณอื่นหรือไม่
1.3 ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต เช่น เคยได้รับอุบัติเหตุ ได้รับการผ่าตัด ป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง ฯ เพราะอาจเกี่ยวข้องในการเจ็บป่วยในครั้งนี้ก็ได้
1.4 ประวัติส่วนตัวเเละประวัติครอบครัว เช่น หอบหืด โรคปอด โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง หรือต่ำ โรคเบาหวาน โรคคอพอกเป็นพิษ การสูบบุหรี่ การเสพสุรา การออกกำลังกาย ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัวหรือการงานเป้นเหตุให้เกิดความเครียดอยู่ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆได้อีก ที่เรียกว่าโรคทางกายนั้นเนื่องมาจาก จิตเครียด ว้าวุ่น เจ้าอารมณ์ เช่น โรคเเผลในกระเพาะอาหาร อาการหอบหืด นอนไม่หลับ ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือเส้นเลือดเเดงของหัวใจตีบตัน โรคผิวหนังบางชนิด ฯ

การตรวจร่างกาย
2.1 การตรวจทั่วไป โดยอาศัยการดู คลำ จับส่วนพิการ เคลื่อนไหวดู หรือให้ผู้ถูกนวด เคลื่อนไหวเอง ว่าเขาทำได้หรือไม่ ทำได้มากน้อยเพียงใด มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือไม่ ลักษณะการเจ็บปวดเป็นอย่างไร เสียดเเทงหรือตื้อ ปวดร้าว หรือปวดตุ๊บๆ เป็นต้น การเจ็บปวดทุเลาหรือเป็นมากขึ้นจากสาเหตุอะไร เช่น ทุเลาจากการบีบ นวด ขยำ ใช้ยาถูนวด การประคบด้วยความร้อน หรือเป็นมากขึ้นจากการทำงานหนัก ไม่ได้พักส่วนนั้นๆ ความเย็นจัด หรือมีความนึกคิดเเบบ "ตีตนไปก่อนไข้" เป็นต้น
2.2 การตรวจก่อนลงมือนวด เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ถูกนวดจากการที่ผู้ถูกนวกมีโรคอื่นเเทรกซ้อนอยู่เเล้ว ผู้นวดจะต้องตรวจดูระบบการทำงานของหัวใจ(ชีพจร) เเละการหายใจ (บันทึกอัตราการหายใจ) ผู้ถูกนวดอ่อนเเอ ลักษณะการหายใจเเละการทำงานของหัวใจผิดปรกติหรือปวดหลังอย่างมาก ควรจัดท่านวด ให้ผู้ถูกนวดนอนตะเเคงหรือนอนหงาย (ไม่ควรนอนคว่ำ เพราะท้องเเละอก จะถูกกดอย่างมาก อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้) เป็นต้น