วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ลักษณะการนวดเเบบไทย


การนวดเเบบไทยหรือการนวดเเผนไทย เดิมนั้น สามารถเเยกรายละเอียดลักษณะการนวดได้ดังต่อไปนี้

1. การกด
การกดมักจะใช้นิ้วหัวเเม่มือกดลงที่ส่วนของร่างกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ให้เลือดถูกขับออกจากหลอดเลือดที่บริเวณนั้น เเละเมื่อลดเเรงกดลง เลือดก็จะไหลมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ช่วยการซ่อมเเซมส่วนที่สึกหรอได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสียของการกดคือ ถ้ากดนานเกินไปหรือหนักเกินไป จะทำให้หลอดเลือดเป็นอันตราย ได้เช่น ทำให้เส้นเลือดฉีกขาด เกิดรอยช้ำเขียว บริเวณที่กดนั้น
2. การคลึง
การคลึงคือการใช้หัวเเม่มือ นิ้วมือหรือส้นมือออกเเรงกดให้ลึกถึงกล้ามเนื้อ ให้เคลื่อนไป-มา หรือคลึงเป็นลักษณะวงกลม
3. การบีบ
การบีบเป็นการจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเเล้วออกเเรงบีบที่กล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการเพิ่มการ ไหลเวียน ของเลือดมายังกล้ามเนื้อ ช่วยให้หายจากอาการเมื่อยล้า การบีบยังช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ข้อเสียของการบีบเช่นเดียวกับ การกด คือ ถ้าบีบนานเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อช้ำ เพราะเกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดภายในกล้ามเนื้อนั้น
4. การดึง
การดึงเป็นการออกเเรงเพื่อที่ จะยืดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ หรือพังผืดของข้อต่อที่หดสั้นเข้าไป นั้นออก เพื่อให้ส่วนนั้นทำหน้าที่ได้ตามปรกติ ข้อเสียของการดึงคือ อาจทำให้เส้นเอ็นหรือพังผืด ที่ฉีกขาดอยู่เล้ว ขาดมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรทำการดึง เมื่อมีอาการเเพลงของข้อต่อ ในระยะเริ่มเเรก ต้องรอให้หลังการบาดเจ็บเเล้วอย่างน้อย 14 วัน จึงทำการดึงได้
5. การบิด
การบิดเป็นการออกเเรงเพื่อหมุนข้อต่อ หรือ กล้ามเนื้อเส้นเอ็นให้ยืดออกด้านขวาง ข้อเสียของการบิด คล้ายกับข้อเสียของการดึง
6. การดัด
เป็นการออกเเรงเพื่อให้ข้อต่อที่ติดขัดเคลื่อนไหวได้ตามปรกติ การดัดต้องออกเเรงมาก เเละค่อนข้างรุนเเรง ก่อนทำการดัดควรจะศึกษาเปรียบเทียบช่วงการ เคลื่อนไหว ของข้อต่อที่จะทำการดัด กับข้อต่อปรกติ เเละจะต้องคำนึงถึงอายุของผู้ป่วยด้วย โดยถือว่าเด็กย่อมมีการเคลื่อนไหวของ ข้อต่อได้ดีกว่าผู้ใหญ่ ข้อเสียของการดัดคือ อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ถ้าผู้ป่วยไม่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบๆข้อต่อนั้น หรือกรณีทำการดัดคอให้ผู้สูงอายุซึ่งมีกระดูกค่อนข้างบาง การดัดที่รุนเเรง อาจทำให้กระดูกหักได้ ในผู้ป่วยที่เป้นอัมพาตมีกล้ามเนื้ออ่อนเเรงก็ไม่ควรทำการดัด เพราะอาจทำให้ข้อต่อเคลื่อนออกจากที่เดิม หรือกรณีข้อเท้าเเพลงก็ไม่ควรทำการดัดทันที อาจทำให้มีอาการอักเสบ เเละปวดมากขึ้น
7. การตบ การตี หรือ การทุบ การสับ
การตบ การตี หรือ การทุบ การสับ เป็นการออกเเรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ เรามักใช้วิธีการเหล่านี้กับ บริเวณหลัง เพื่อช่วยอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือช่วยในการขับเสมหะเวลาไอ ข้อเสียของการตบ การตี คือ ทำให้กล้ามเนื้อชอกช้ำ เเละ บาดเจ็บได้
8. การเหยียบ
การเหยียบเป็นวิธีที่นิยมทำกันโดยให้เด็กหรือผู้อื่นขึ้นไปเหยียบ หรือเดินอยู่บนหลัง ข้อเสียของการเหยียบคือ เป็นท่านวดที่มีอันตรายมาก เพราะอาจจะทำให้กระดูกสันหลังหัก ทำให้เป็นอัมพาตได้ หรือทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต เกิดการบาดเจ็บได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น