วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำลูกประคบสมุนไพรเเละประโยชน์

การประคบสมุนไพร
การประคบสมุนไพร หมายถึงการนำเอาสมุนไพรทั้งสดหรือเเห้งหลายๆชนิดมาโขลกพอเเหลกเเละคลุกรวมกัน ห่อด้วยผ้า ทำเป็นลูกประคบ นึ่งด้วยไอความร้อนเเละนำไปประคบบริเวณที่ต้องการ
-ตัวยาสมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบ
1.ไพล (500 กรัม) สรรพคุณ เเก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ฟกช้ำ
2.ขมิ้นชัน (100 กรัม) สรรพคุณ เเก้โรคผิวหนัง ลดการอักเสบ
3.ผิวมะกรูด หรือใบมะกรูด (100 กรัม) สรรพคุณ มีน้ำมันหอมระเหย เเก้ลมวิงเวียน
4.ตะไคร้บ้าน (200 กรัม) เเต่งกลิ่น
5.ใบมะขาม (100 กรัม) สรรพคุณ ช่วยทำความสะอาดผิวหนัง เเก้ฟกช้ำ
6.ใบส้มป่อย (50 กรัม) สรรพคุณ เเก้โรคผิวหนัง ช่วยบำรุงผิวหนัง ลดอาการคัน เเก้ฟกบวม
7.เกลือ (60 กรัม) สรรพคุณ ช่วยดูดความร้อน เเละช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนัง
8.การบุร (30 กรัม) สรรพคุณ เเต่งกลิ่น เเก้หวัด บำรุงหัวใจ
9.พิมเสน (30 กรัม) สรรพคุณ เเต่งกลิ่น เเก้พุพอง ผดผื่น บำรุงหัวใจ
-อุปกรณ์ในการทำลูกประคบ
1.เขียง 1 อัน เเละ มีด 1 เล่ม
2.ตัวยาสมุนไพรรวม ที่ใช้ทำลูกประคบ
3.ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ 2 ผืน เเละเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
4.หม้อนึ่งลูกประคบ
5.กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู
6.จานรองลูกประคบ
-วิธีทำลูกประคบ
1.ล้างสมุนไพรให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆโขลกพอเเหลก
2.ใส่เกลือ พิมเสน การบูร คลุกให้เข้ากัน เเบ่งเป็น 2-3 ส่วน
3.นำสมุนไพรที่เเบ่งไว้มาใส่ผ้า ห่อเป็นลูกประคบ รัดด้วยเชือกให้เเน่น
4.นำลูกประคบที่ได้ ไปนึ่งไอน้ำให้ร้อน
5.นำไปประคบบริเวณที่ต้องการ
-ขั้นตอนประคบ
1.จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสมในท่านั่งหรือนอน
2.นำลูกประคบที่นึ่งจนร้อนมาทดสอบความร้อน โดยเเตะที่ท้องเเขนหรือหลังมือก่อนนำไปประคบ
3.ในการประคบ ต้องทำด้วยความรวดเร็วในขณะที่ลูกประคบกำลังร้อน เมื่อลูกประคบเย็นลง จึงวางลูกประคบไว้ได้นานขึ้น
4.เมื่อลูกประคบลายความร้อน จึงเปลี่ยนลูกประคบ อีกลูกหนึ่งเเทน
-ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร
1.ช่วยบรรเทาอาการเมื่อย
2.ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หลัง 24-48 ชั่วโมง
3.ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4.ช่วยให้กล้ามเนื้อ พังผืด ยืดตัวออก
5.ลดอาการติดขัดของข้อต่อ
6.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
7.ลดอาการปวด
-ข้อระวังในการประคบ
1.ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เป็นเเผลมาก่อน ถ้าจำเป็นต้องประคบควรมีผ้ารอง หรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายความร้อนลง
2.ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก เเละผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่ม บุคคล ดังกล่าว มีการตอบสนอง ความรู้สึกร้อน ช้า อาจทำให้ผิวหนังพองได้ ถ้าจำเป้นต้องประคบ ควรใช้ลูกประคบอุ่น
3.ไม่ควรใช้ลูกประคบ ในกรณีที่มีการอักเสบใน 24 ชั่วโมงเเรก เพราะอาจทำให้ การอักเสบมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย้นก่อน
4.หลังจากประคบสมุนไพรเเล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราจะไปชำระล้างตัวยาออกจากผิวหนัง เเละร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน
-การเก็บรักษาลูกประคบ
ลูกประคบสามารถใช้ได้นาน 3-5 วัน(กรณีใช้คนเดียว)ควรเก็บไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มีสีเหลือง(จากไพลเเละขมิ้น)ทำให้คุณภาพของยาลดลง การใช้จะไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนใหม่