วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ผลของการนวด

การนวดมีผลต่อระบบต่างๆดังต่อไปนี้
1.ต่อระบบไหลเวียนเลือด
1.1การคลึงทำให้เลือดถูกบีบออกไปจากบริเวณนั้นเเละมีเลือดใหม่มาเเทนที่ ช่วยในการไหลเวียนของเลือดเเละน้ำเหลือง
1.2สำหรับการบวม การคลึงจะทำให้บริเวณนั้นนิ่มลงได้ ทำให้การบวมลดลง เเต่ในกรณีที่มีการอักเสบไม่ควรคลึง อาจทำให้บวมมากขึ้นได้
1.3อุณภูมิเพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนที่นวดอุ่นขึ้น

2.ต่อระบบกล้ามเนื้อ
2.1ทำให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพดีขึ้น เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น เช่นการเตรียมตัวของนักกีฬาก่อนการเเข่งขัน
2.2ขจัดของเสียในกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าน้อยลงหลังใช้เเรงงาน
2.3ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนลง ผ่อนคลายความเกร็ง
2.4ในรายที่มีพังผืดเกิดในกล้ามเนื้อ การคลึงทำให้พังผืดอ่อนตัวลง ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น เเละอาการเจ็บปวดลดลง

3.ต่อผิวหนัง
3.1ทำให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังเยอะขึ้น ทำให้ผิวหนังเต่งตึง
3.2ยาดูดซึมได้ดีขึ้นทางผิวหนัง ภายหลังการนวดที่นานพอควรเช่น การนวดด้วยยาเเก้ช้ำ
3.3การคลึงในรายมีเเผลเป็น ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อพังผืด งอกเเทนผิวหนังเดิม ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้เเผลเป็นอ่อนตัวลง หรือเล็กลงไป

4.ต่อระบบทางเดินอาหาร
4.1เพิ่มความดึงตัวของระบบทางเดินอาหาร ได้เเก่ กระเพาะอาหารเเละลำไส้
4.2เกิดการบีบตัวของกระเพาะอาหารเเละลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร ท้องไม่อืดไม่เฟ้อ

5.ต่อจิตใจ
5.1ทำให้เกิดการรู้สึกผ่อนคลาย สบายกาย สบายใจ
5.2ทำให้รู้สึกเเจ่มใส กระฉับกระเฉง
5.3ทำให้ลดความเครียด เเละความกังวล
5.4ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ได้รับความรัก ความเอาใจใส่ โดนเฉพาะสมาชิกในครอบครัว ช่วยนวดให้เเก่กันเเละกัน

หลักพื้นฐานการนวดไทย

หลักพื้นฐานการนวดไทย เเบ่งได้เป็น 3 หัวข้อคือ
1.ข้อพึงปฏิบัติในการนวด
2.ข้อพึงระวังในการนวด
3.มรรยาทของผู้นวด


1.ข้อพึงปฏิบัติในการนวด
ก.ก่อนลงมือนวด ผู้นวดพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.1สุขภาพดีไม่มีโรค ถ้าผู้นวดไม่สะบายก็ไม่ควรนวดผู้อื่น เพราะจะไม่ได้ผลในการรักษา อาจทำให้ผู้ถูกนวดติดโรคจากผู้นวด ผู้นวดก็อาจหมดเเรงเเละโรคที่เป็นอยู่อาจกำเริบได้
1.2กายสะอาด ใจสดใส รักษาความสะอาดทางกาย เเต่งกายให้สะอาด ล้างมือให้สะอาด เล็บมือให้ตัดสั้น เพื่อไม่ให้ผู้ถูกนวดเจ็บขณะกด ทำจิตใจให้สดชื่น เเจ่มใสอยู่เสมอ
1.3ซักถามอาการ ต้องซักประวัติเเละถามอาการผู้ถูกนวด

ข.เมื่อลงมือนวด ผู้นวดควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.หายใจช้าๆ ลึกๆมีสมาธิ ผู้นวดควรเเนะนำให้ผู้ถูกนวด หายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ เเละสบายๆทำใจให้เป็นสมาธิ จิตใจไม่คิดฟุ้งซ่าน เพื่อให้เกิดความ ผ่อนคลาย ทั้งทางร่างกายเเละจิตใจ ผู้นวดก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน
2.ระลึกถึงครู ก่อนลงมือนวด ผู้นวดจะต้องทำการไหว้ครูเพื่อระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชาความรู้ เเละเป็นการตั้งสติให้จิตใจเเน่วเเน่
3.ท่านวด จัดท่านวดให้ถูกต้อง ท่านวดที่ดีจะช่วยให้ผู้ถูกนวดอยู่ในท่าที่สบาย ผ่อนคลายไม่เกร็ง ผู้นวดสามารถออกเเรงได้อย่างถูกต้อง คือไม่ต้องเสียเเรงมาก เเละไม่ทำให้ปวดเมื่อยเสียเอง
4.หาตำเเหน่งจุดนวด ทำการหาตำเเหน่งจุดนวดที่ถูกต้อง การนวดผิดจุดย่อมไม่เกิดผล ในการรักษาเเต่อาจทำให้เกิดผลเสียได้
5.การวางมือ วางมือให้ถูกต้อง
5.1 ใช้นิ้วหัวเเม่มือกด การกดด้วยนิ้วหัวเเม่มือ ให้กดเเบบเดียวกับการพิมพ์นิ้วมือ เเต่ไม่ควรกดเเบบจิกนิ้ว(งอข้อนิ้ว)เพราะจะทำให้เจ็บได้
5.2การซ้อนนิ้ว ใช้นิ้วหัวเเม่มือกดซ้อนกัน โดยใช้นิ้วหัวเเม่มือที่ซ้อนอยู่บนตัวออกเเรงกด นิ้วล่างประคองไว้เฉยๆ
5.3กดซ้อนด้วยมือ ใช้นิ้วหัวเเม่มือวาง บนจุดที่ต้องการกด เเล้วใช้ส้นมืออีกข้าง ออกเเรงกดลง บนนิ้วหัวเเม่มือที่วางไว้
5.4กดด้วยส้นมือ ใช้ส้นมือกดเเทนนิ้วมือได้ ในกรณีที่จุดที่กดเป็นเเนว หรือมีบริเวณกว้างพอ 6.เเขนเหยียดตรง โน้มตัวไปข้างหน้า เเขนข้างที่ใช้กดควรเหยียดตรง ไม่งอศอกหรือ ข้อมือ ไม่กางเเขนหรือหุบเเขนมากเกินไป เเละโน้มตัวไปข้างหน้า
7.เเรงที่ใช้กด ออกเเรงให้ถูก ให้ค่อยๆเพิ่มเเรงกด จากเบา ไปหาหนัก (ขณะกดเเขนต้องเหยียดตรง โน้มน้ำหนักตัวลงสู่จุดที่กด)กดนิ่งไว้เเล้วค่อยๆผ่อนออก การรีบปล่อยมือ หรือยกมือโดยเร็ว จะทำให้ระบมได
8.เวลาที่ใช้นวด การนวดเป็นคาบ คาบหนึ่ง คือการหายใจเข้าหนึ่งครั้ง เเละหายใจออกหนึ่งครั้ง หรือกดนาน 10 วินาที
9.หมั่นสังเกต การสังเกตน้ำหนักที่ใช้ในการกดนั้น ให้สังเกตของสีหน้าอาการ ของผู้ถูกนวด เเละปฏิกิริยาการเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อ ถ้าผู้ถูกนวดเเสดงอาการเจ็บปวดมาก หรือกล้ามเนื้อเกร็งสู้มาก ก็ควรผ่อนเเรงกด เเรงกดที่เบาเกินไปจะทำให้ไม่ได้ผล ส่วนเเรงกดที่มากเกินไป ก็อาจทำให้ระบมได้
10.สอบถาม ผู้นวดควรสอบถามความรู้สึกของผู้ถูกนวด ขณะทำการนวดว่า ทนเจ็บปวดได้หรือไม่ ควรผ่อนเเรงกด ถ้ามีผู้ถูกนวดบอกเจ็บจนทนไม่ไหว
11.นวดซ้ำ เมื่อนวดครบทุกเเนวทุกจุด เเล้ว ควรกลับมานวดซ้ำประมาณ3-5 รอบ เเล้วเเต่อาการ ซึ่งต้องอาศัย ความชำนาญของผู้นวด ในการตรวจสอบดูอาการในขณะนวด ในการตรวจสอบดูอาการในขณะนวด หากนวดในครั้งเเรกเเล้วอาการดีขึ้น ให้เว้นระยะเวลา 2-3 วัน จึงจะนวดครั้งต่อไปได้ ไม่ควรนวดซ้ำรอบ มากเกินไป หรือนวดถี่วัน เกินไป เพราะจะทำให้ระบมได้

ค. หลังการนวดผู้นวดพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ให้คำเเนะนำในการปฏิบัติตัวของผู้ถูกนวด เช่น ท่าที่เหมาะสมในการนั่ง การนอน การทำงาน เเละการบริหารกาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการปวดเกิดขึ้นตามมาอีก
2.ถ้าผู้ถูกนวดมีอาการระบม ควรเเนะนำให้ประคบน้ำร้อน(ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ ใช้ถุงน้ำร้อนหรือขวดน้ำร้อน พันด้วยผ้า หรือใช้ลูกประคบสมุนไพร)นอนพักผ่อน ถ้าผู้ถูกนวดมีไข้ ควรเเนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา เเละนอนพัก ถ้ามีไข้เกิน 3 วัน ควรเเนะนำให้พบเเพทย์

2.ข้อพึงระวังในการนวด
1.ห้ามปิด-เปิดประตูลม นานเกิน 45 วินาที การปิด-เปิดประตูลม คือการใช้นิ้วมือกดที่หลอดเลือดเเดง เพื่อไม่ให้ส่งเลือดไป เลี้ยงที่เเขนหรือขาในชั่วขณะหนึ่ง เเล้วปล่อยนิ้วมือที่กดออก เลือดเเดงก็จะพุ่ง ไปเลี้ยงเเขนขา ทำให้รู้สึกวูบวาบ ตามมา การปิด-เปิด ประตูลม ไม่ควรใช้เเรงกดมากเกินไป เพราะหลอดเลือดเเดงอาจช้ำ เเละอักเสบได้ เเละไม่ควรกดนานเกิน 45 วินาที เพราะอาจทำให้เส้นประสาท ขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป ทำให้มีอาการชา ตามมาได้ หรืออาจเป็นอัมพาตได้

2.ห้ามเหยียบหลังเเละท้อง การเหยียบเป็นลักษณะการนวดเเบบไทยในลักษณะหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความชำนาญ ของผู้นวดมาก เพราะเท้ามีความละเอียดอ่อนในการใช้งาน ได้น้อยกว่ามือ ผู้ที่จะนวดโดยการเหยียบได้ จึงต้องฝึกฝนกับผู้รู้ ผู้ชำนาญเเล้วเท่านั้น

3. ห้ามดัด ดึงคอ ข้อเท้าเเพลง เเละคนเป็นอัมพาต การดึงเป็นลักษณะการนวดเเบบไทยในลักษณะหนึ่ง ที่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญ ของผู้นวดเช่นกัน ในระดับพื้นฐานไม่ควรดัด ดึง ในกรณีดังต่อไปนี้
-ห้ามดัด ดึงคอ หรือ บิดคอ เพราะอาจทำให้กระดูกคอเคลื่อนไปกดทับ เส้นประสาท ทำให้ปวดร้าวเสียว ชา ลงมา ตามเเขน เเขนเป้นอัมพาตได้ ถ้ากระดูกเคลื่อนหรือเเตกหัก เเทงเข้าไปในไขสันหลังจะทำให้เป็นอัมพาตทั้ง 2 เเขน เเละ 2 ขา หมดหนทางที่จะรักษา ถ้ากระดูกเคลื่อนไปทำลาย ก้านสมองซึ่งควบคุม การหายใจ เเละการเต้น ของหัวใจ ก็อาจทำให้ถึงตายได้
-ห้ามดัดดึง ข้อเท้าที่เเพลงในระยะเเรก เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น เเละ พังผืด รอบๆข้อฉีกขาดมากยิ่งขึ้น ทำให้อักเสบเเละปวดมากขึ้น
-ห้ามดัด ดึง คนเป็นอัมพาต เพราะอาจทำให้ข้อเคลื่อน(ข้อหลุด)ได้
-ห้ามดึงเข่า ในลักษณะกระตุกเข่า เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเอ็น เเละพัง ผืด บริเวณ ข้อเข่า ได้รับบาดเจ็บ
4.งดของเเสลง ผู้ถูกนวด ควรงดเว้นเหล้า ยาดองเหล้า บุหรี่ เเละของที่กินเเล้ว ทำให้อาการกำเริบขึ้นได้ เช่น เเตงกวา หน่อไม้ดอง
5.งดยาเเก้ปวด ผู้ถูกนวดไม่ควรกินยาเเก้ปวด ก่อนการนวด ถ้าผู้ถูกนวดกินยาเเก้ปวดมาไม่เกิน4-6ช ั่วโมง ห้ามทำการนวด ก็ควรรอให้ยาหมดฤทธิ์ก่อนจึงจะ ทำการนวดได้ การกินยา เเก้ปวด เป็นการตัดการรับความรู้สึกเจ็บปวดของร้างกาย เเละไม่ได้เเก้ไขที่ต้นเหตุของความเจ็บป่วยนั้นเลย ถ้าทำการนวดหลังกินยาเเก้ปวด จะทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดขณะนวดสูญเสียไป อาจทำให้อวัยวะที่เจ็บปวดอยู่นั้น บาดเจ้บมาก ยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ถูกนวดไม่รู้สึกตัว พอยาเเก้ปวดหมดฤทธิ์จึงมีอาการเจ็บปวดเเสดงให้เห็น

3.มรรยาทของผู้นวด
1.ไม่โอ้อวดตนเองไม่โอ้อวดความรู้ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีในตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่หลอกผู้ถูกนวดด้วยประการต่างๆเพื่อเห็นเเก่อามิสสินจ้าง เเละชื่อเสียง
2.ไม่ลวนลามผู้ถูกนวด ไม่ว่าทางกาย วาจา หรือเเม้เเต่ทางใจ
3.ไม่มัวเมาอบายมุข ของเมา เเละ ยาเสพติด เพราะเป็นเครื่องชักนำให้ขาดสติ
4.ไม่นวดในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่นโรงเเรม โรงน้ำชา โรงอาบอบนวด เพราะอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจไปในทางที่ผิดได้
5.เก็บรักษาความลับของผู้ถูกนวด
6.นั่งห่างจากผู้ถูกนวดพอสมควร เมื่อนวดข้างซ้ายควรนั่งข้างซ้าย นวดข้างขวาควรนั่งข้างขวา ไม่คร่อมตัวผู้ถูกนวด โดยไม่จำเป็น
7.อย่าหายใจรดผู้ถูกนวด
8.ก่อนนวดศีรษะ ควรขออนุญาติผู้ถูกนวดก่อน
9.หยุดนวด เมื่อผู้ถูกนวดบอกว่าเจ็บ หรือทนไม่ไหวเเล้ว
10.ไม่กินอาหารหรือสิ่งใดๆ รวมทั้งบุหรี่ ขณะทำการนวด