วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ลักษณะการนวดเเบบไทย


การนวดเเบบไทยหรือการนวดเเผนไทย เดิมนั้น สามารถเเยกรายละเอียดลักษณะการนวดได้ดังต่อไปนี้

1. การกด
การกดมักจะใช้นิ้วหัวเเม่มือกดลงที่ส่วนของร่างกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ให้เลือดถูกขับออกจากหลอดเลือดที่บริเวณนั้น เเละเมื่อลดเเรงกดลง เลือดก็จะไหลมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ช่วยการซ่อมเเซมส่วนที่สึกหรอได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสียของการกดคือ ถ้ากดนานเกินไปหรือหนักเกินไป จะทำให้หลอดเลือดเป็นอันตราย ได้เช่น ทำให้เส้นเลือดฉีกขาด เกิดรอยช้ำเขียว บริเวณที่กดนั้น
2. การคลึง
การคลึงคือการใช้หัวเเม่มือ นิ้วมือหรือส้นมือออกเเรงกดให้ลึกถึงกล้ามเนื้อ ให้เคลื่อนไป-มา หรือคลึงเป็นลักษณะวงกลม
3. การบีบ
การบีบเป็นการจับกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเเล้วออกเเรงบีบที่กล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการเพิ่มการ ไหลเวียน ของเลือดมายังกล้ามเนื้อ ช่วยให้หายจากอาการเมื่อยล้า การบีบยังช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ข้อเสียของการบีบเช่นเดียวกับ การกด คือ ถ้าบีบนานเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อช้ำ เพราะเกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดภายในกล้ามเนื้อนั้น
4. การดึง
การดึงเป็นการออกเเรงเพื่อที่ จะยืดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ หรือพังผืดของข้อต่อที่หดสั้นเข้าไป นั้นออก เพื่อให้ส่วนนั้นทำหน้าที่ได้ตามปรกติ ข้อเสียของการดึงคือ อาจทำให้เส้นเอ็นหรือพังผืด ที่ฉีกขาดอยู่เล้ว ขาดมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรทำการดึง เมื่อมีอาการเเพลงของข้อต่อ ในระยะเริ่มเเรก ต้องรอให้หลังการบาดเจ็บเเล้วอย่างน้อย 14 วัน จึงทำการดึงได้
5. การบิด
การบิดเป็นการออกเเรงเพื่อหมุนข้อต่อ หรือ กล้ามเนื้อเส้นเอ็นให้ยืดออกด้านขวาง ข้อเสียของการบิด คล้ายกับข้อเสียของการดึง
6. การดัด
เป็นการออกเเรงเพื่อให้ข้อต่อที่ติดขัดเคลื่อนไหวได้ตามปรกติ การดัดต้องออกเเรงมาก เเละค่อนข้างรุนเเรง ก่อนทำการดัดควรจะศึกษาเปรียบเทียบช่วงการ เคลื่อนไหว ของข้อต่อที่จะทำการดัด กับข้อต่อปรกติ เเละจะต้องคำนึงถึงอายุของผู้ป่วยด้วย โดยถือว่าเด็กย่อมมีการเคลื่อนไหวของ ข้อต่อได้ดีกว่าผู้ใหญ่ ข้อเสียของการดัดคือ อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ถ้าผู้ป่วยไม่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบๆข้อต่อนั้น หรือกรณีทำการดัดคอให้ผู้สูงอายุซึ่งมีกระดูกค่อนข้างบาง การดัดที่รุนเเรง อาจทำให้กระดูกหักได้ ในผู้ป่วยที่เป้นอัมพาตมีกล้ามเนื้ออ่อนเเรงก็ไม่ควรทำการดัด เพราะอาจทำให้ข้อต่อเคลื่อนออกจากที่เดิม หรือกรณีข้อเท้าเเพลงก็ไม่ควรทำการดัดทันที อาจทำให้มีอาการอักเสบ เเละปวดมากขึ้น
7. การตบ การตี หรือ การทุบ การสับ
การตบ การตี หรือ การทุบ การสับ เป็นการออกเเรงกระตุ้นกล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ เรามักใช้วิธีการเหล่านี้กับ บริเวณหลัง เพื่อช่วยอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือช่วยในการขับเสมหะเวลาไอ ข้อเสียของการตบ การตี คือ ทำให้กล้ามเนื้อชอกช้ำ เเละ บาดเจ็บได้
8. การเหยียบ
การเหยียบเป็นวิธีที่นิยมทำกันโดยให้เด็กหรือผู้อื่นขึ้นไปเหยียบ หรือเดินอยู่บนหลัง ข้อเสียของการเหยียบคือ เป็นท่านวดที่มีอันตรายมาก เพราะอาจจะทำให้กระดูกสันหลังหัก ทำให้เป็นอัมพาตได้ หรือทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต เกิดการบาดเจ็บได้

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริหารเเบบไทย ท่าฤาษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า

การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนจะเกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธีเเละมีความสัมพันธ์กับการยืดหดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เเละข้อต่างๆของร่างกาย
ท่าที่ 1 ท่านวดบริเวณกล้ามเนื้อบนใบหน้าถนอมสายตามี 7 ท่า เป็นท่าที่ รศ.นพ.กรุงไกร เจนพาณิชย์ ใช้นวดถนอมสายตา ช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ในเเต่ละท่า ให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออกไปด้วย


ท่าที่ 2 ท่าเทพพนม


อนิลถีคันธ์ท่านนิ่วหน้า คากลึง
ลมเสียดสองหัตถ์ตึง ปวดติ้ว
พับเข่านั่งคำนึง บิตคัดดั่งฤา
กายขดชระคัดนิ้ว นบถ้า เทพพนม
ท่าเทพพนมมีประโยชน์ในการ เเก้ลมในข้อมือ เเละเเก้ลมในลำลึงค์ เป็นการบริหารข้อมือ

ท่าที่ 3 ท่าชูหัตถ์วาดหลัง


ฤาษีสี่ชื่อให้ นามนครรามเอย
อังนะคาวีอักษร อ๊ะ๊ตั้ง
ทับชงฆ์เทิดถวัดกร สองไปล่หลังนา
เเก้ขัดข้อเท้าทั้ง ป่วยท้องบรรเทา
ท่าชูหัตถ์วาดหลัง มีประโยชน์ในการ เเก้ลมปวดศีรษะ ปวดท้องเเละข้อเท้า เมื่อฝึกท่านี้ต่อเนื่องกัน จะทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้ดีขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปที่ศีรษะ เเละเเขนดีขึ้น

ท่าที่ 4 ท่าเกียจ


มุนีมีฤทธิ์มาก เพียงใด
ฤาพ้นทุกข์โรคภัย นั้นได้
ปวดเวียนเศียร มัวนัยน์ อาจเเก้หายนา
ขัดสมาธิยกหัตถ์ขึ้น หัตถ์นั้น อิงเศียร
ท่าเกียจมีประโยชน์ในการ เเก้ลม เจ็บศีรษะเเละตามัว เป็นท่าง่ายๆที่ใช้กันบ่อย คือการบิดขี้เกียจ โดยประยุกต์ให้เคลื่อนไหวครบทุกทิศ เป็นการยืดเเขนเต็มที่ทุกทิศ

ท่าที่ 5 ท่าไล้คาง


พระนารอทโยคี มียานกล้า
เเต่ยังคงเมื่อยล้า ฤาห้ามได้
จึงดัดตนเร่งค้นคว้า ตามบอกไว้เอย
พับเพียบหัตถ์คลึงศอกได้ อีกไคล้คลึงคาง
ท่าไล้คาง มีประโยชน์ในการเเก้ขัดเเขน เเขนขัด เป็นท่าที่ทำง่าย ทำให้ลดปัญหาเเขนขัดที่พบบ่อยๆเเละเป็นการบริหารหัวไหล่

ท่าที่ 6 ท่านั่งนวดขา


ธาระนีฒันนั่งน้อม โน้มกาย
เท้าเหยียดมือหยิบปลาย เเม่เท้า
ลมกร่อนเหือดห่างหาย เห็นประจักษ์
อีกเเน่นนาภีเร้า ระงับเส้นกร่อนกระษัย
ท่านั่งนวดขามีประโยชน์ในการ เเก้กล่อนกษัย เเก้ขัดเข่า เป็นการบริหารบริเวณเข่า หลัง เอว

ท่าที่ 7 ท่ายิงธนู


สหัชนาไลยลี้หลีก ละสงสารเเย่
ยืนย่างหยัดเหยียดองค์ อ่อนเเล้
สองหัตถ์ท่าทีทรง ศรสารทไปเอย
บำบัดปรัดฆาฎเเก้ กร่อนเเห้งหืดหาย
ท่ายิงธนูมีประโยชน์ในการ เเก้กล่อนปัตคาต เเละเเก้เส้นมหาสนุกระงับ มีผลที่อกเเละขา กล่อนปัตคาตหมายถึง ภาวะอาการขัดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ

ท่าที่ 8 ท่าอวดเเหวนเพชร


เหยียดหัตถ์นิ้วนิ่ง ชันเพลา
เเก้เมื่อยขัดเเขนเบา โทษได้
ยาคะรูปนี้เอา ยาชื่อใส่เฮย
ผสมสี่นักสิทธิให้ ชื่ออ้างอยุธยา
ท่าอวดเเหวนเพชร มีประโยชน์ในการเเก้ลมในเเขน ข้อมือเเละนิ้ว ช่วยให้เเขนข้อมือเเละนิ้วเเข็งเเรง

ท่าที่ 9 ท่าดำรงกายอายุยืน


ทิศภัยโพ้นผนวดข้าง เขาเขิน
ทิวพนักชายเนิน ท่าน้ำ
ปรนนิบัติดัดองค์เจริญ ชนม์ชีพ พระนา
กุมกดธารกรค้ำ ห่างพื้นยืนยัง
ท่าดำรงกายอายุยืนมีประโยชน์ในการ ทดสอบการทรงตัวบริหารเข่า ต้นขา เเละช่วยระบบขับถ่าย เป็นท่าที่ทดสอบการทรงตัว ยืนขาเดียว บริหารเข่า มีการยือร่างกายตามเเนวดิ่ง

ท่าที่ 10 ท่านางเเบบ


อิสีสิงค์หน้ามฤต ญาณมอดม้วยเเฮ
สลบเพื่อนนางฟ้ากอด ท่านนั้น
ฟื้นองค์ครั่นครางออก ขาไหล่ขัดเอย
ยืนย่อบาทบีบคั้น เข่าทั้งโคนขา
ท่านางเเบบมีประโยชน์ในการ เเก้ไหล่ ขา เอว ใช้บริหาร เอว อก ขา ไหล่

ท่าที่ 11 ท่านอนหงายผายปอด


วรเชษฐ์เเปลงเปลี่ยนข้อ ลิขิตการ
พระรถเรื่องโบราณ บอกเเจ้ง
ลมไสยาศน์เหยียดเครียดปาน ฉุดชักไว้เเฮ
เเก้โรคไออกเเห้ง เหือดให้เห็นคุณ
ท่านอนหงายผายปอดมีประโยชน์ในการ เเก้โรคในอก ทำให้ปอดเเข็งเเรง

ท่าที่ 12 ท่าเต้นโขน


อัคนีเนตรนี้ขัด คี่โชนเนตรฤา
ยืนเเยกย่างยักษ์โขน ออกเต้น
กางกรกดสองโคน ขานิดเน้นนอ
เเก้ตะคริวริ้วเส้น เเก้เเข้งตลอดเเขน
ท่าเต้นโขนมีประโยชน์ในการ เเก้ตะคริวมือเเละเท้า เป็นการบริหารยือร่างกาย ตามเเนวดิ่ง เป็นการบริหารเอว เเละ ขา

ท่าที่ 13 ท่ายืนก้มนวดขา


สระภังก์ดาบสตั้ง ตนตรง
ถ่างบาททั้งสองทรง เเย่เเต้
กำหมัดดัดกรผจง กดคู่ขานา
ตะโพกสลักเพชรม้า เมื่อยล้าขาหาย
ท่ายืนก้มนวดขา มีประโยชน์ในการ เเก้ตะโพกสลักเพชร เเก้ไหล่ ขาขัด โดยเน้นทำ เท่าที่ทำได้ ตามสภาพหลังของเเต่ละคน ทำโดยไม่ต้องฝืน ข้อควรระวัง ผู้มีอาการปวดหลัง ปวดร้าว ชาลงไปตามขา ควรหลีกเลี่ยงท่านี้ เเละขณะก้มลง ถ้ามือไม่สามารถเเตะพื้นได้ก็ไม่ควรฝืน

ท่าที่ 14 ท่านอนคว่ำพับบาท


เวฎฐทีประโพ้น พงษ์กษัตริย์
ออกผนวชพัชรลัด หลีกเส้น
กรทอดระทวยดัด องค์อ่อน งามเอย
เเก้ทั่วสรรพยางค์ เส้นระงับได้โดยเพียร
ท่านอนคว่ำพับบาทมีประโยชน์ในการ เเก้ลมรัดทั้งตัว เเละลมเลือดในตามัว เป็นท่าที่ใช้ในการบริหาร ส่วนคอ ขา เเละ หน้าอก ข้อควรระวัง ผู้มีอาการเวียนศีรษะ ปวดต้นคอ ควรหลีกเลี่ยงท่านี้

ท่าที่ 15 ท่าองค์เเอ่นเเหงนภักตร์


หัตถ์หน่วงนิ้วเท้าทบ จบกัน
นอนเหยียดเบียดอกพัน เหยียดเเขน
องค์เเอ่นเเหงนภัคน์หัน เหินหาวราวตะนา
กาลสิทธิเเก้เมื่อยเเสบ มือเท้าเพลาหาย
ท่าองค์เเอ่นเเหงนภักตร์มีประโยชน์ในการเเก้ปวดเมื่อยปลายมือ เเละปลายเท้า ข้อควรระวัง
ไม่ควรเเหงนหน้ามากเกินไป จะทำให้เป็นตะคริวที่น่องได้

กายบริหารเเบบไทย ท่าฤาษีดัดตน เเละประโยชน์

ฤาษี หมายถึง นักพรตหรือนักบวช ที่อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ในตำนาน หรือนิทานโบราณมักจะเรียกผู้ที่เป็นนักบวช ว่าเป็น ฤา๊ษี เเละในความเป็นจริงของสังคมไทยในอดีตน่าจะมีนักบวชประเภทนี้เเสวงหาความสุขอยู่ตามป่าเขา บำเพ็ญเพียร นั่งสมาธินานๆ อาจมีอาการเมื่อยขบก็ได้ เมื่อทดลองขยับเขยื้อนร่างกาย การยืดข้อพับ เเละเกร็งตัวดัดตน ทำให้เกิดท่าต่างๆเเล้วทำให้อาการเจ็บป่วย เมื่อยขบหายไป จึงได้สรุปประสบการณ์บอกเล่าสืบต่อกันมา หรืออาจเกิดจากการคิดค้นโดยคนธรรมดา ทั่วๆไป เพราะในสังคมไทยกว่า 2000 ปี เรามีศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการปฏิบัติตน ดังนั้นนักบวช นักพรตก็อาจเป็นชาวที่นิยมนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง ซึ่งอาจเป็นอุบาสกอุบาสิกาหรือเป็นพระสงฆ์ การปั้นรูปเป็นฤาษีไม่มีหลักฐานว่าพระมหากษัตริย์ไทยลอกเเบบมาจากที่ใด เเต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าคนไทยเคารพนับถือ ฤาษี เป้นครูบาอาจารย์ การปั้นเป็นรูปฤาษี เเละระบุชื่อฤาษีผู้คิดค้นท่า อาจเป็นกลวิธีทำให้ เกิดความขลัง เพราะผู้ฝึกต้องมาฝึกทำท่ากับรูปปั้น เท่ากับฝึกหัดกับครู เพราะฤาษีเป็นครูของศิลปะ วิทยาการ ทุกสาขา มีผู้ศึกษาบางคนพยายามเชื่อมโยงว่า คนไทยเลียนเเบบโยคะ ของอินเดีย เเล้วพยายามนำท่าไปเทียบเคียง เเต่เมื่อพิจารณาท่า ต่างๆของโยคะเเล้วพบว่าไม่เหมือนกัน เเละท่าดัดตน ของไทย ไม่ใช่ท่าผาดโผนหรือฝืนร่างกายจนเกินไป ส่วนใหญ่เป็นท่าดัดตนตามอิริยาบทของคนไทย ที่มีความสุภาพ เเละสามารถปฏิบัติได้โดยคนทั่วๆไปอย่างไรก็ตามในจำนวนท่าฤาษีดัดตน 127 ท่า มีท่าเเบบจีน 1 ท่า เเบบเเขก 1 ท่า ท่าดัดคู่ 2 ท่า เเสดงถึงการเเลกเปลี่ยนความรู้กันเเละมีการระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นของต่างชาติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปั้นเพิ่มเติมขึ้นมาภายหลัง เพราะมนุษย์ต่างก็เเสวงหาเเนวทางที่จะช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น เพื่อให้มีร่างกายเเข้งเเรงเเละมีอายุยืนยาว

ประโยชน์ท่าบริหาร ฤาษีดัดตน
การบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนที่คัดเลือกมาใช้นี้มีอยู่ 15 ท่า จากทั้งหมด 127 ท่า เป็นท่าที่สามารถบริหารร่างกายได้ครอบคลุมทุกส่วนตั้งเเต่ ใบหน้า คอ ไหล่ เเขน ท้อง ไปจนถึงเท้านอกจากใช้เป็นท่าในการบริหารร่างกายเเล้ว ท่าต่างๆที่ใช้ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคเบื้องต้นได้อีกด้วย นับว่ามีประโยชน์เป็นอันมาก ได้เเก่
1. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเเขนขาหรือข้อต่างๆ ให้เป็นไปอย่างคล่องเเคล่ว นับว่าเน้นการนวดด้วย ซึ่งบางท่าจะมีการกด หรือบีบนวดร่วมไปด้วย
2. ทำให้โลหิตหมุนเวียนเลือดลม เดินได้สะดวกดีขึ้น นับเป็นการออกกำลังกายซึ่งสามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบทของคนไทย
3. เป็นการต่อต้านโรคภัยบำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว
4. มีการใช้สมาธิร่วมด้วย จะช่วยยกระดับจิตใจให้พ้นอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด ความง่วง ความท้อเเท้ ความเครียดเป็นต้น เเละช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ หากมีการฝึกการหายใจให้ถูกต้อง

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ลมประจำเส้นสิบ กับการเกิดโรคเเละอาการต่างๆ

1.เส้นอิทา ลมประจำเส้นคือ
1.1 ลมจันทะกาลา อาการคือ ปวดหัวมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เสียวหน้าตา เจ็บสันหลัง เกิดเพื่อกำเดาเเละลมระคนกัน ให้ตัวร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัสตอนเย็น-กลางคืน
1.2 ลมปะกัง อาการคือ ตัวร้อน วิงเวียน ปวดหัวมาก
1.3 ลมพหิ อาการคือ เซื่องซึม สลบ คล้ายถูกงูกัด
1.4 ลมสัตตวาต อาการคือ ให้มือสั่น ตีนสั่น เพราะบริโภคอาหารวันละ 4-5 เวลา
2.เส้นปิงคลา ลมประจำเส้นคือ
2.1 ลมสูรย์กาลา(สูญทกลา)
2.2 ลมปะกัง อาการคือ หน้าตาเเดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก ชัก ปากเอียง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บตา น้ำตาไหล มักจับวันพฤหัส ห้ามกินของมันของเย็นเกินไป
2.3 ลมพหิ อาการคือ สลบไม่รู้ตัว ไม่พูดจา คล้ายถูกงูกัด
2.4 รัตนาวาต อาการคือ เมื่อยล้า ขัดทั่วทุกเเห่ง เพราะกินอาหารจำเจ เมื่อจะเป้นให้เเสบไส้พุง อยากอาหารเเละของสดคาว
3.เส้นสุมนา ลมประจำเส้นคือ
3.1 ลมชิวหาสดมภ์ อาการคือ ลิ้นกระด้างคางเเข็ง เซื่องซึม เจรจามิได้
3.2 ลมดาลตะคุณ(ลมมหาอัศดมภ์) อาการคือ จุกอก เอ้นเป้นลำจับหัวใจ มักจับวันอาทิตย์
3.3 ลมทะกรน อาการคือ ดวงจิตระส่ำระส่าย
3.4 ลมบาทจิตร์ อาการคือ เคลิบเคลิ้ม พูดติดขัด หลงลืม เเน่นอก อาเจียนเป้นลมเปล่า หนาวร้อน ต้องฝืนกินอาหาร จะขย้อนออก
4.เส้นกาลทารี ลมประจำเส้นคือ
4.1 ไม่ระบุชื่อลม อาการคือ เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน เพราะกินอาหารเเสลง ได้เเก่ ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว มักจับวันอาทิตย์เเละวันจันทร์
5.เส้นสหัสรังษี ลมประจำเส้นคือ
5.1 ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต) อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตา ไม่ได้เพราะกินของมันของหวาน มักจับวันศุกร์
6.เส้นทวารี ลมประจำเส้นคือ
6.1 ลมทิพจักษุ อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตาไม่ได้ อาจเป็นทั้ง2 ข้าง หรือข้างขวา ข้างเดียว
6.2 ลมปัตฆาต อาการคือ เกิดจากเส้นทวารีพิการเรื้อรัง บังเกิดเพราะกินน้ำมะพร้าวอันมันหวาน เเละมีกามสังโยควันอังคาร
7. เส้นจันทภูสัง ลมประจำเส้นคือ
7.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะอาบน้ำมาก ให้วิงเวียน จึงเป็นเเล มักจับวันพุธ
8. เส้นรุชำ ลมประจำเส้นคือ
8.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะ กินน้ำมะพร้าวของอันมัน มักให้เจ็บท้องนัก มักจับวันอังคาร บางตำราบอกว่ามักจับวันอาทิตย์ ทำให้หูตึง ลมออกจากหู
9. เส้นสิกขิณี ลมประจำเส้นคือ
9.1 กุจฉิสยาวาตา อาการคือ เสียดสีข้างทั้งสอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น เจ็บหัวเหน่าลงท้อง ท้องขึ้น พะอืดพะอมท้อง ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นเพื่อกามราคะนั้นหน่วงเอ็น ทำให้ปัสสาวะหยดย้อย หนองใน เป็นอุปะทมไส้ด้วน ไส้ลาม ผู้หญิงเป้นเพื่อโลหิตหรือเอ็นในมดลูกพิการ เรียกว่าลมกามทุจริต เจ็บท้อง สีข้างสะเอว เเล้วเเล่นเข้าไปในท้อง เเล้วลงมารั้งหัวเข่าทั้งสองข้าง
10. สุขุมัง ลมประจำเส้นคือ
10.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะกินอาหารโอชะมัน ทำให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ราวท้องจะเเตก กินอาหารเเม้น้อยก็คับท้อง ขัดอุจจาระ บางทีก็ลงไปเปล่า มักจับวันอาทิตย์

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ทางเดินของเส้นประธาน 10

..............กายายาวหนึ่งวา หนาหนึ่งคืบ กว้างหนึ่งศอก ลึกสององค์คุรี................
1. เส้นอิทา เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านซ้าย 1 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาซ้ายด้านในค่อนไปทางด้านหลัง ถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านซ้าย ขึ้นไปบนศีรษะ เเล้วกลับลงมาสิ้นสุดที่ข้างจมูกซ้าย
2. เส้นปิงคลา เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 1 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาขวาด้านในค่อนไปด้านหลังถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านขวา ขึ้นไปบนศีรษะเเล้วกลับลงมา
3. เส้นสุมนา เริ่มจากเหนือสะดือ 2 นิ้ว เเล่นขึ้นไปภายในอก ผ่านลำคอขึ้นไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น
4. เส้นกาลทารี เริ่มต้นที่เหนือสะดือ 1 นิ้วมือ เเล้วเเตกออกเป็น 4 เส้น 2 เส้นบนเเล่นขึ้นไปผ่านข้างชายโครง ผ่านสะบักใน ไปยังเเขนทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อมือตลอดถึงนิ้วมือทั้งสิบ 2เส้นล่างเเล่นลงไปบริเวณต้นขาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านในทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อเท้า ตลอดถึงนิ้วเท้าทั้งสิบ
5. เส้นสหัสรังษี เริ่มต้นจากข้างสะดือซ้าย 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาซ้ายด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านใน โคนนิ้วเท้าซ้ายทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอกขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอกไปชายโครง หัวนมซ้าย เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาข้างซ้าย
6. เส้นทวารี เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาขวาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านใน ขอบฝ่าเท้าด้านในโคนนิ้วเท้าขวา ทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอก ขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอก ไปชายโครงหัวนมขวา เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาขวา
7. เส้นจันทภูสัง เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านซ้าย 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมซ้าย ผ่านด้านข้างของคอ ขึ้นไปสิ้นสุดที่หูขวา
8. เส้นรุชำ(รุทัง)เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมขวา ผ่านด้านข้างของคอ ไปสิ้นสุดที่หูขวา
9. เส้นสุขุมัง เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เยื้องซ้ายเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารหนัก
10. เส้นสิกขิณี เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เยื้องขวาเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารเบา

เส้นประธาน 10

อิทา ปลิงคลา สุมนา กาลทารี
สหัสรังษี ทวารี จันทภูสัง
รุชำ สิขิณี สุขุมัง สิบเส้นนี้เอย
อ่านเป็นกลอนเเปด

เป็นหมอนวด อย่าลบหลู่ ดูถูกเส้น ต้องรู้เห็น เส้นสาย ได้ทุกที่
เส้นประธานสิบ หลักฐาน โบราณมี รอบนาภี เเยกเส้นสาย ให้พลัง

1. เส้นอิทา ผ่านหัวเหน่า เข้าเข่าซ้าย พอเข้าไกล้ หัวเข่า วกเข้าหลัง
ผ่านศีรษะ มาจมูกซ้าย ให้ระวัง โรคปวดหลัง ตามัว ปวดหัวจริง
2. เส้นปิงคลา เกิดสลับ กับอิทา อยู่ด้านขวา ทุกอย่าง ที่อ้างอิง
อาการโรค ละม้าย คล้ายกันจริง นวดกดนิ่ง หน้า หัว ทั่วท้ายทอย
3. เส้นสุมนา ผ่านหัวใจ ไปโคนลิ้น ยากกลืนกิน พูดจา หน้าละห้อย
ลิ้นกระด้าง คางเเข็ง เรี่ยวเเรงน้อย จิตเหงาหงอย คลุ้มคลั่ง ต่างๆ นาๆ
4. เส้นกาลทารี กลางนาภี เเยกสี่เส้น มีสองเส้น ร้อยสะบักใน สู่ใบหน้า
เเล้ววกกลับ เเขนขวาซ้าย ปลายนิ้วนา สองบาทา เเยกหนึ่งเส้น เป็นสำคัญ
5. เส้นสหัสรังษี ลงที่เท้าซ้าย วกขึ้นไป เเล่นลอด ทอดเต้าถัน
เเนบลำคอ ขากรรไกร ใบหน้าพลัน ไปสุดกัน ที่ตาซ้าย ให้จดจำ
6. เส้นทวารี สลับกับรังษี ทุกเส้นที่ อยู่ทางขวา ดูนำขำ
กินของมัน หวานเกินไป ไม่ควรทำ กินประจำ ผลสนอง เกี่ยวข้องตา
7. จันทภูสังไ ปยังนมซ้าย เลยออกไป หูซ้าย ไม่กังขา
8. เส้นรุชำ สลับกับ ภูสังนา ไปหูขวา ถ้าหูตึง คลึงเส้นนี้
9. สิขิณี ไปที่ อวัยวะเพศ มีสาเหตุ จากไต ไม่ได้ที่
โรคโลหิต มดลูก ทุกนารี นวดเส้นนี้ เอว สะโพก โรคทุเลา
10. เส้นสุขุมัง หยุดยั้ง ทวารหนัก ลำไส้พัก จุดผาย ถ่ายของเก่า
ถ้ากินได้ ไม่ถ่าย จะตายเอา นวดเบาๆ หน้าท้อง คล่องระบาย
ทั้งสิบเส้น ที่กล่าว คร่าวๆนี้ เพื่อช่วยชี้ ช่วยจำ นำขยาย
เป็นหมอนวด ต้องฝึกฝน จนวันตาย มันไม่ง่าย เหมือนปอกกล้วย ช่วยคิดเอย

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

โรคต้องห้าม เเละข้อห้ามในการนวด

ในการนวดนั้นมีข้อต้องห้ามอยู่หลากหลายอย่าง มิใช่จะสามารถนวดได้ ทุกบุคคล เพราะฉะนั้นหมอนวดที่ดีจึงต้องทำการซักถามประวัติก่อนการนวดทุกครั้ง
โรคต้องห้าม
1.โรคหัวใจ เพราะอาจจะทำให้ช็อคได้
2.มะเร็ง เพราะจะทำให้เชื้อของมะเร็งเเพร่กระจายตามกระเเสเลือด
3.เบาหวาน( 180 ขึ้นไป ) เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อช้ำเเละหายยาก
4.ความดันโลหิตสูง 160 ขึ้นไปไม่ควรนวด
5.โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อเเพร่กระจายได้
ข้อห้ามเเละข้อควรระวังในการนวด
1.เส้นเลือดคอด้านหน้า เพราะทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองตายได้
2.ทัดดอกไม้เหนือใบหู เพราะเป็นจุดที่บอบบางของกระโหลกศีรษะ จะเเตกหักง่าย
3.ไหปลาร้า เพราะมันอาจจะเเตกหักหรือหลุดได้ง่าย
4.ใต้รักเเร้ เพราะเป็นจุดศูนย์รวมเส้นประสาทเเละต่อมน้ำเหลืองจะทำให้อักเสบได้
5.หัวมุมไหล่ เพราะจะหลุดง่าย
6.ข้อพับศอก จะทำให้อักเสบเเละหลุดได้ง่าย
7.หัวเข่า เพราะจะอักเสบเเละหลุดได้ง่าย
8.มีไข้ตัวร้อน อุณภูมิ 38 องศาขึ้นไป
9.อาการอักเสบบวมเเดง เพราะมันอักเสบอยู่เเล้ว ถ้านวดจะทำให้อักเสบมากขึ้น
10.กระดูกเเตกหัก เพราะมันเเตกหักอยู่เเล้ว
11.เเผลผ่าตัด จะทำให้เเผลฉีกขาดเเละอักเสบขึ้นมาได้
12.ภายหลังบาดเจ็บ ใน 48 ชั่วโมง เพราะมีการช้ำเเละยังอักเสบอยู่
13.เเผลเปิดเเละเเผลเรื้อรัง อาจจะทำให้ติดเชื้อ เเละเป็นมากกว่าเดิมได้
14.เปิดประตูลมไม่เกิน 45 วินาที ถ้าเกินเส้นเลือดจะเเตกเเละเป็นอัมพาตได้
15.ควรรับประทานอาหารมาก่อนทำการนวดไม่น้อยกว่า 30 นาที
16.ไม่ควรทานยาเเก้ปวดมาก่อนทำการนวด เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อชา นวดเเล้วไม่ได้ผล
17.บริเวณที่เกิดสีดำ เพราะเนื้อตายจากเส้นเลือดอุดตัน เพราะการนวดอาจจะทำให้ก้อนเลือดในเลือดดำเคลื่อนไปอุดหลอดเลือดในปอดหรือสมอง
18.ภาวะเลือดออก
19.น้ำร้อนลวก ไฟไหม้พุพอง
20.ฝี เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น

ศาสตร์ของการนวด

นวดเเผนไทยมีหลายเเขนง เราถูกเรียกว่าเเพทย์ทางเลือก การนวดสามารถบรรเทาอาการได้ 80% (ไม่สามารถรักษาได้)

ศาสตร์การนวด มีทั้งหมด 16 อย่าง

1.นวดเเผนไทย(นวดตัว) เเบ่งออกเป็น 2 สายคือ
-นวดเเบบเชลยศักดิ์
-นวดเเบบราชสำนัก
2.นวดฝ่าเท้า มี 2 ชนิดคือ
-นวดเพื่อสุขภาพ 26 จุด
-นวดเพื่อการรักษา 60 จุด
3.นวดน้ำมัน
4.นวดฝ่ามือ
5.ขูดพิษ ภาษาจีนเรียกว่า กัวซา วัตถุประสงค์ในการขูดนั้น ก็เพื่อเอาพิษออกจากอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยการขูดลงบนผิวหนังสามารถขูดได้ทั้งตัว เป็นการกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดลม ระบบน้ำเหลือง ให้ไหลเวียนได้ดีและสามารถขจัดพิษให้ออกจากร่างกายได้ อุปกรณ์ในการขูด มีหลายแบบหลายชนิด ถ้ามีคุณสมบัติเย็นจะดีที่สุดทำจากเขาสัตว์ทำจากหยกหรือหินเย็นๆ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้เหรียญสิบ ช้อน ชามกระเบื้อง ถ้วยชา ทัพพี ไม้ที่ทำคล้ายมีด แต่ไม่คม ไม่บาดผิวหนัง ก่อนขูดต้องทาน้ำมันก่อน ก็ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว หรือครีมขี้ผึ้งเสลดพังพอน ก็ใช้ได้ดี แก้คันและแก้อักเสบไปในตัว
ผื่นแดง ชมพู ดำ เขียว บนผิวหนัง หลังจากการขูดคืออะไร : ผื่นที่ปรากฏขึ้นมาตามผิวหนังนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซในกระแสเลือด โดยที่ระบบไหลเวียนของเลือดจะถูกกระตุ้นให้มีการสะสมของเม็ดเลือดบริเวณที่ขูดกระตุ้นว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด ก็จะปรากฏออกมาบนผิวหนังที่ขูดกระตุ้น มีด้วยกัน ๕ ระดับ
๑.สีดำ หมายถึง ความเป็นกรด ๙๐-๑๐๐% ด่าง ๑๐-๐%
๒.สีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นกรด ๗๐-๘๐% ด่าง ๓๐-๒๐%
๓.สีแดงเข้ม หมายถึง ความเป็นกรด ๕๐-๖๐% ด่าง ๕๐-๔๐%
๔.สีแดงอ่อน หมายถึง ความเป็นกรด ๓๐-๔๐% ด่าง ๗๐-๖๐%
๕.สีชมพูอ่อน หมายถึง ความเป็นกรด ๑๐-๒๐% ด่าง ๙๐-๘๐%
6.เหยียบฉ่า การเหยียบฉ่า คือ การรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดเมื่อยตามแขนขา หรือตามร่างกาย ด้วยวิธีการใช้เท้าแตะน้ำมันสมุนไพร แล้วไปแตะแผ่นเหล็กที่ร้อนจัดบนเตาไฟ ขณะใช้เท้าเหยียบจะมีเสียงดัง "ฉ่า" จากนั้นจะนำเท้าไปเหยียบบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย จึงเรียกวิธีการนี้ว่า "เหยียบฉ่า"
7.ตอกเส้น มีมากทางภาคเหนือ คือการรักษาอาการปวดเมื่อย..เส้นตึง..โดยการตอก เส้น..โดยใช้ไม้ตอกไปตามเส้นและกล้ามเนื้อของร่างกายของผู้ป่วยที่มารับการรักษา โดยไม้ที่ใช้ตอกเป็นไม้ที่โดนฟ้าผ่า..หรือเขา สัตว์ที่โดนฟ้าผ่าตาย แล้วนำมาเป็นไม้ตอกเส้น จะทำให้หายปวดเมื่อย และคลายความเจ็บปวดของร่างกาย เสมือนการนวดแผนไทยนั่นเอง
8.จัดกระดูกหรือ Chiropractic การจัดกระดูก หรือการแพทย์ไคโรแพรคติก เป็นแพทย์ทางเลือกสาขาหนึ่ง จัดเป็นศาสตร์วิชาการแพทย์ในแขนงการดูแลสุขภาพ จัดกระดูก สันหลังที่คลาดเคลื่อนที่มีผลทำให้กลไกของการเคลื่อนไหวของการก้ม เงย เอน บิด รวมถึงการทำงานของระบบประสาทไขสันหลัง ผิดปกติกลับมาทำงานให้ดีขึ้น
9.ฝังเข็ม-ครอบเเก้ว-รมยา
10.เอามาน(เป็นท่านวดเเบบพม่า)มีเพียง 15 ท่า มีมากทางภาคเหนือ
11.ถุ้นหนาน มีที่ใต้หวัน
12.ชีฮัทซึ เป็นหัตถเวชเเบบญี่ปุ่น
13.กายภาพบำบัด เป็นการคลายกล้ามเนื้อ ใช้ในโรงพยาบาล
14.พลังภายใน(พลังจิต) มี 8 จุด
15.เวชเภสัช-ผดุงครรภ์
16.โภชนาการ

ประวัติการนวดเเผนโบราณ


การนวดเเผนโบราณ เป็นทั้งศาสตร์เเละศิลป์ที่มีมาตั้งเเต่โบราณกาล เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณเบื้องต้นของการอยู่รอดเมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วย ตนเองหรือผู้อยู่ไกล้เีคียงมักจะลูบไล้บีบนวดบริเวณดังกล่าว ทำให้อาการปวดเมื่อยคลายลง ที่เเรกก็เป็นไปโดยมิได้ตั้งใจ ต่อมาเริ่มสังเกตุเห็นผลของการบีบนวดในบางจุดหรือบางวิธีที่ได้ผล จึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์เเละกลายเป็นความรู้ที่สืบทอดกันต่อๆมาหลายคน จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งความรู้ที่ได้จึงสะสมจากลักษณะง่ายๆ ไปสู่ความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น กระทั่งสามารถสร้างขึ้นเป็นทฤษฏี การนวดจึงกลายมาเป็นศาสตร์เเขนงหนึ่งที่มีบทบาทบำบัดรักษาอาการหรือโรคภัยบางอย่าง
เชื่อกันว่า รากฐานของการนวดเเผนโบราณจากประเทศอินเดีย โดยหมอชีวกโกมารภัจจ์ เเพทย์ประจำราชวงศ์สักยะ เเละเเพทย์ประจำองคืพระพุทธเจ้าเป้นผู้ริเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาล ได้เเพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานเเน่ชัด พบว่ามีกกการนวดกันเฉพาะในรั้วในวัง ดดยจะนวดเเต่พระเจ้าเเผ่นดินหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ต่อมาภายหลังจึงเริ่มกระจายสู่บุคคลทั่วไป จากการที่ผู้นวดดังกล่าว เเล้วอายุมากขึ้นเกษียณราชการกลับไปอยู่บ้าน เเล้วถ่ายทอดวิชาให้ลูกหลาน ให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง สืบต่อกันมา
การนวดเป็นที่รู้จักกันอย่างเเพร่หลายในเเผ่นดินสมัยอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2300 ได้เริ่มมีการเขียนตำราเกี่ยวกับการนวดไว้ในใบลานโดยจารึกไว้เป็นภาษาบาลี ในปี พ.ศ.2310 กรุงศรีอยธยาถูกพม่าเผาจนเสียหายอย่างหนัก ตำราเกี่ยวกับการนวดเหล่านี้ก็พลอยสูญหายไปด้วย(ถูกเผา)คงเหลือเล็กน้อยบางส่วน จึงได้มีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการนวดเเผนโบราณอย่างเป้นทางการ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดให้มีการจารึกตำรายา เเละตำราฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย
ในสมัยรัชกาลที่3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้มีการรวบรวมเเละสลักไว้บนผนังที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)ตำราในส่วนนี้เองที่เป็นรากฐานของการนวดเเผนโบราณในปัจจุบัน
ในจดหมายเหตุของลาลูเเบร์กล่าวไว้ว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ใช้ชำระคัมภีร์เเพทย์ทั้งมวลให้เป็นที่ถูกต้องเเละจดบันทึกไว้ในสมุดข่อยเก็บไว้ ในครั้งนั้นกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ร่วมกับ กรมหมื่นอักษรสาสน์โสภณ เเละหลวงสารประเสริฐได้ชำระตำราเเผนนวดไว้ด้วยได้เป็น "ตำราเเผนนวดฉบับหลวง"นอกจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นยังมีการสอนวิชาหมอนวดให้กับนักเรียนเเพทย์ชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนราชเเพทยาลัยเเห่งเเรกของประเทศไทยด้วย เเต่ภายหลังเลิกสอนไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เเละพระบาทสมเด็จพระมากุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ผู้ที่มีชื่อเสียงมากในการนวดในขณะนั้นคือหมออินเทวดา ซึ่งเป็นหมอนวดในราชสำนัก ได้ถ่ายทอดวิชานวดทั้งหมดให้เเก่บุตรชายคือ หมอชิต เดชพันธ์ ซึ่งต่อมา ได่ถ่ายทอดความรู้ให้เเก่ลูกศิษย์ ความรู้เกี่ยวกับการนวดเเผนโบราณนั้นเริ่มเเพร่หลายเเละเปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อประมาณ30-40 ปีมานี้
ในปี พ.ศ.2475 ได้มีการริเริ่มตั้งสถานที่ขึ้นเพื่อเผยเเพร่ความรู้ในด้านการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร เเละการนวดขึ้นเป็นครั้งเเรก ในครั้งนั้นมีผู้สนใจไม่มากนัก ต่อมาก็มีผู้สนใจมาเรียนการนวดกันมากขึ้น จนได้มีการจัดตั้งสมาคมเเพทย์เเผนโบราณเเห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งเเรกในประเทศไทย โดยมีอาจารย์ใหญ่ สีตวาทิน เป็นนายกสมาคมคนเเรก เเละเป็นผู้ถ่ายทอดวิชานวดในครั้งนั้นด้วย

ประวัติบรมครูชีวกโกมารภัจจ์เเพทย์


ในสมัยพุทธกาล สำนักตักศิลา เป็นที่โด่งดังมาก การเรียนการสอนก็เป็นเเบบตัวต่อตัว ไม่เป็นระบบชั่วโมงบรรยาย เหมือนมหาวิทยาลัยนาลันทะในยุคต่อมา ศิษย์จะต้องเข้าหาอาจารย์เอง อาจารย์ส่วนมากเป็นฤาษี สถานที่เรียนก็เป็นกุฏิของครูอาจารย์ พักอาศัยตามบ้านของครอบครัวในนิคม สำหรับสถานที่ตั้งของตักศิลาในสมันนั้นจะอยู่ในอินเดียหรือไม่ ยังไม่เเน่ชัด เพราะการเดินทางจากเเคว้นมคธ ไปยังตักศิลาในสมันนั้นต้องเดินทางนานถึง 3 เดือน ถ้าเทียบระยะเวลาการเดินทางของกองเกวียนเหล่าวานิชที่เดินทางค้าขายกันเป็นประจำ ระยะ 3 เดือน สามารถเดินทางได้ถึงเขตของไทย หรือถ้าไปด้านเหนือก็เข้าเขตเชียงตุง
ชีวกโกมารภัจจ์เเพทย์ เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าชายอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร เเห่งเเคว้นมคธ เดินทางไปศึกษาที่สำนักตักศิลา โดยอาศัยไปกับกองเกวียนของพวกพ่อค้าเข้าเรียนวิชาเเพทย์กับสำนักทิศาปาโมกข์ ปรกติการศึกษาวิชาเเพทย์จะต้องใช้เวลาถึง 16 ปี เเต่ชีวกโกมารภัจจ์เเพทย์ เรียนอยู่เพียง 7 ปีก็สำเร็จ อาาจรย์ของท่านทำการทดสอบภูมิความรู้ของท่านโดยให้ท่านไปหาสิ่งที่ไม่เป็นยาในบริเวณโดยรอบตักศิลามาให้ ปรากฏว่าท่านกลับมาพบอาจารย์ด้วยมือเปล่า เเจ้งเเก่อาจารย์ของท่านว่า ไม่พบสิ่งใดเลย ที่ไม่สามารถใช้ทำยาได้ พวกเพื่อนๆของท่านพากันหัวเราะเยาะ เเต่อาจารย์ของท่านกลับบอกว่า ท่านได้สำเร็จวิชาการเเพทย์เเล้ว ท่านเป็นผู้ที่มีความฉลาด จิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตา อาจารย์จึงประสาทให้เป็นผู้สำเร็จวิชา เเละเเนะนำให้ไปบริการรักษาโรคที่เมืองสาเกต เมืองหลวงของเเคว้นอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ไกล้ๆกับตักศิลา เพื่อเป็นการเผยเเพร่ชื่อเสียง เพราะที่เมืองสาเกต มีเเพทย์เก่งๆอยู่มาก ท่านได้ทำการรักษาโรคให้เเก่ผู้คนในเมืองสาเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้รักษาชีวิตของมารดาเเละทารกให้รอดจากความตายเป็นจำนวนมากเป็นที่นับถือ จนได้รับนาม ต่อท้ายชื่อว่า โกมารภัจจ์ เเปลว่า หมอผู้ชำนาญโรคเด็ก ความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ รวมถึงการผ่าตัดต่างๆ ก็เป็นที่เลื่องลือเช่นกัน ต่อมาจึงได้เดินทางกลับกรุงราชคฤห์ รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายอาการประชวรจากโรคริดสีดวงทวารเรื้อรังด้วยการทายาเพียงครั้งเดียว เเละรักษาโรคให้ผู้คนีกมากมาย จนได้รับเเต่งตั้งเป็นเเพทย์หลวงประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสาร ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงถวายให้เป็นเเพทย์ประจำองค์ของพระพุทธเจ้า เเละได้ดูเเลรักษาอุปฐากพระภิกษุอีกมากมาย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระประชวร ปู่ชีวกโกมารภัจจ์ได้ปรุงยาขนานพิเศษขึ้นเพื่อจะถวายพระพุทธองค์ โดยให้ยาเพียงครั้งเดียวก็จะหายเเต่พระพุทธองค์ไม่รับโอสถนั้นทำให้ปู่ชีวกโกมารภัจจ์ เสียใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปลงสังขารผ่านไปได้ 3 เดือน ปู่ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้หนีไปจำศีลอยู่ในถ้ำ ในระหว่างจำศีลอยู่ในถ้ำนั้น ท่านได้รจนาพระคัมภีร์การเเพทย์ต่างๆ ไว้มากมาย เป็นตำราที่เราใช้สืบต่อกันมานานจนถึงปัจจุบันอันเกิดประโยชน์เป็นอย่างมากต่ออนุชนรุ่นหลัง